Intel เตรียมปล่อยซีพียู Gen 6 “Skylake”
ผู้ผลิตเมนบอร์ดในไต้หวันได้เปิดเผยว่า อินเทลได้แจ้งไปยังผู้ผลิตเมนบอร์ดที่จะชะลอการเปิดตัวของซีพียู Skylake สำหรับเดสก์ท็อปที่ผลิตด้วยกระบวนการ 14nm พร้อมกับชะลอการเปิดตัวชิปเซต 100 Series ไปเป็นช่วงปลายเดือนสิงหาคม จากกำหนดการเดิมที่ตั้งใจว่าจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2015
ความล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อการผลิตผู้ผลิตพีซีสำเร็จรูปและแผนการจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซีพียู Haswell Refresh และ Broadwell-U นอกจากนี้แล้วยังมีความเป็นไปได้ว่าที่อินเทลจะยืดเวลาในการพัฒนาซีพียู Broadwell ที่มี TDP 65W ออกไปอีกเช่นกัน แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติม
ผู้ผลิตพีซีสำเร็จรูปยังไม่สามารถที่จะเปิดตัวพีซีที่ใช้ซีพียู Skylake ในช่วงงาน Computex 2015 ที่จะเกิดขึ้นที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน นี้ได้ ซึ่งจะมีผลต่อยอดขายพีซีในครึ่งหลังของปี 2015 แหล่งข่าวจากผู้ผลิตเมนบอร์ดกล่าวเพิ่มเติม
แหล่งข่าวให้ความเห็นว่า การที่อินเทลขยายเวลาการเปิดตัวซีพียู Skylake ออกไป อาจเป็นเพราะต้องการจะหลีกเลี่ยงการขายที่ทับซ้อนกันกับแพลตฟอร์มก่อนหน้านี้นั่นเอง
IDF 14 หรืองาน Intel Developer Forum 2014 เมื่อเช้านี้ทาง Brian Krzanich ตำแหน่ง Intel Chief Executive Officer ได้ขึ้นกล่าวเปิดงาน IDF 14 อย่างเป็นทางการ และได้พูดถึงเกี่ยวกับซีพียูในตระกูล Broadwell ที่จะมีขนาดกระบวนการผลิตที่ 14nm ซึ่งจะเปิดตัวต่อจาก Haswell นั้นขณะนี้พร้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่เพียงแต่จะมีเฉพาะ Broadwell-M หือสำหรับ Notebook เท่านั้น อินเทลยืนยันแล้วว่าจะยังมีสำหรับ Desktop ในตระกูล Core i3, i5, i7 ครบถ้วนเช่นเดิม ส่วน Broadwell-K นั้นจะตามมาทีหลังอีกเล็กน้อย
สำหรับข้อมูลตรงนี้ ทีแรกผมเองก็แค่อยากจะแบบว่าลงเป็นข่าวให้ได้อ่านกันสั้นๆ แต่พอผมได้อ่านต้นฉบับแบบจริงๆจัง ผลคือมีความน่าสนใจไม่น้อยในเนื้อหาที่เขานำเสนอ ดังนั้นผมขอสรุปมาเป็นบทความเชิงความรู้ กับการมาทำความรู้จักกับ CPU ในตระกูล Skylake อย่างคร่าวๆ พร้อมกับช่วงเวลาที่คาดว่าเราจะได้เป็นเจ้าของ
ช่วงเวลานี้นอกจากกระแสของการ์ดจอจากทั้ง AMD และ NVIDIA จะโหมกระหน่ำกันปล่อยข่าวหลุด กระแสของซีพียูตัวใหม่จากยักษ์ฟ้าอินเทลเองก็แรงไม่แพ้กันสำหรับซีพียูในรหัสพัฒนา Skylake หรือ Intel core 6th gen processors กับการเปลี่ยนแปลงมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่หลักใหญ่ๆที่ทราบกันตอนนี้ก็คือ
- ใช้กระบวนการผลิตที่ขนาด 14nm
- มาบนซ๊อคเก็ต LGA 1151
- ใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดชิบเซต 100 Series หรือ Z170, H170 …
- รองรับแรมได้ทั้ง DDR4 และ DDR3
- รองรับ DMI 3.0
- iGP (Integral Graphic) รองรับ DirectX 12, OpenGL4.3/4.4 และ OpenCL 2.0
สิ่งที่กล่าวไปก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เราจะได้พบเจอใน Intel Skylake และสำหรับการแบ่งซีพียูในตระกูล Skylake นี้นั้นทางอินเทลจะได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ตระกูลใหญ่ๆได้แก่ Skylake-S, Skylake-Y, Skylake-H และ Skylake-U
- Skylake-S : จะเป็นซีพียูในกลุ่ม High Performance และ Mainstream(ตลาดหลัก) บนแพลทฟอร์ม Desktop
- Skylake-Y : จะเป็นซีพียูบนพื้นฐาน Core M สำหรับแพลทฟอร์มโมบาย ซึ่งจะเน้นที่เรื่องของการประหยัดพลังงานในระดับ Ultra low TDP
- Skylake-U : เป็นซีพียูสำหรับตลาดหลักบนแพลทฟอร์มโมบายหรือตลาดโน๊ตบุ๊คนั่นแหละครับ
- Skylake-H : ถือเป็นซีพียูในระดับ High Performance หรือกลุ่มประสิทธิภาพสูงสำหรับแพลทฟอร์มโมบาย
ช่วงเวลาการเปิดตัว
สำหรับช่วงเวลาการเปิดตัวนั้น จากข่าวที่ผมเคยให้ไปคือทางอินเทลจะเผยข้อมูลหรือเปิดตัว Intel Skylake ในช่วงเดือน มิถุนายนนี้ในระหว่างงาน Computex 2015 ที่กำลังจะมาถึง แต่ทว่าซีรีย์หลักจริงๆตามที่อินเทลวางแผนไว้คือจะทำการเปิดตัว Intel Broadwell ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้(ลงตลาดเต็มตัว) ที่ถือเป็นวันเริ่มต้นของ Computex ทางด้านตัว Skylake นั้นคาดว่าอินเทลเพียงแค่เปิดตัว(แถลงข่าว) และอาจจะมีซีพียูลงตลาดในจำนวนน้อยและคาดว่าน่าจะมีเพียงซีพียูในรหัส Core i7 6700K และ Core i5-6600K เท่านั้น ส่วนในโมเดลอื่นๆน่าจะลงตลาดอย่างเต็มตัวจริงๆก็ในช่วงเดือนกันยายน และระหว่างรอกันอยู่นี้เรามาทำความรู้จักกับ Intel Skylake ในซีรีย์ต่างๆกันไปพลางๆก่อนนะครับ เผื่อว่าเราจะได้วางแผนการใช้เงินได้อย่างถูกจุดของแต่ละคนไป
95W TDP – Intel Skylake-S Series Processors
เป็นซีพียูในซีรีย์ที่มุ่งเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพบนแพลทฟอร์ม Desktop หลักๆแล้วก็จะมีออกมาสองโมเดลคือ Core i7-6700K และ Core i5-6600K โดยข้อมูลทางเทคนิคเท่าที่เราทราบในเวลานี้ มันจะเป็นซีพียูที่มีอัตรา TDP สูงสุด 95W (K Series) สำหรับ 6700K ตัวเรือธงนั้นจะเป็นซีพียู Quad Core ที่มาพร้อมกับ HyperThreading มีเทรดการทำงานทั้งหมด 8 เทรด โดย L3 Cache จะมาในขนาด 8MB มีความเร็วการทำงานพื้นฐานที่ 4.0GHz และบู๊ตได้สูงสุดที่ 4.2GHz ด้านของการใช้งานร่วมกับแรมนั้น อย่างที่รู้กันว่ามันจะมี IMC (Integral Memory Controller – ตัวควบคุมแรม) ที่สามารถใช้งานได้ทั้ง DDR4 และ DDR3 โดยความเร็วพื้นฐานหรือ Native ของแรมในแบบ DDR4 จะทำงานที่ความเร็ว 2133MHz ส่วนหากเป็น DDR3 จะรองรับในแบบ DDR3L(Low Voltage) ที่ความเร็ว 1600MHz ถัดมาสำหรับ Core i5-6600K นั้นก็จะยังคงเป็นซีพียู Quad-Core ที่ไม่มี HyperThreading เหมือนเดิม โดยจะมีความเร็วในช่วงพื้นฐาน 3.5GHz และบู๊ตได้สูงสุด 3.9GHz ขนาดของ L3 ก็จะน้อยกว่า Core i7 เล็กน้อยคือมีขนาด 6MB ส่วนในเรื่องการรองรับแรมจะเหมือนกันกับ Core i7-6700K ตามที่ได้บอกไปแล้วข้างต้น
สำหรับการใช้งานแรมนั้น คาดกันว่าเราจะสามารถพบเห็นการใช้งานร่วมกับ DDR3L บนแพลทฟอร์มเล็กๆเช่น mini-PC, NUC หรือ All-in-ones แต่สำหรับแพลทฟอร์ม Desktop จริงๆ เราจะได้พบกับแรมในแบบ DDR4 อย่างแน่นอน และยังคงทำงานบนพื้นฐาน Dual Channel จะยังมีสล๊อตแรมจำนวนสี่แถวเหมือนเคย และสิ่งที่อินเทลจะได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงจากเจเนเรชันปัจจุบัน หลักๆก็จะเป็นเรื่องของซิลิโคนใต้กระดองที่หวังว่า จะเปลี่ยนไปใช้ซิลิโคนที่คุณภาพสูงขึ้นหรือใช้การบัดกรีเช่นในอดีต และที่หวังเอาไว้ค่อนข้างมากก็คือ หวังว่าอินเทลจะเปิดอิสระในการโอเวอร์คล๊อกความเร็วของ BCLK (Base Clock) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง วงการโอเวอร์คล๊อกก็จะกลับมาคึกคักมากขึ้นทันที
65W TDP – Intel Skylake-S Series Processors
สำหรับ Skylake-S ที่มีอัตรา TDP สุงสุด 65W นั้นก็ยังเป็นซีพียูในตระกูล High Performance แต่ทว่ามันถูกออกแบบให้ไม่สามารถโอเวอร์คล๊อกได้เหมือนกับในตระกูล K โดยเบื้องต้นนั้นจะมีออกมาให้ได้เลือกใช้กัน 4 โมเดลคือ Core i7 6700 โดยรายละเอียดทางเทคนิคพื้นฐานไม่แตกต่างไปจากตัวที่มี K แต่ความเร็วการทำงานจะลดต่ำลงมาโดยความเร็วพื้นฐานจะทำงานที่ 3.4GHz และบู๊ตได้สูงสุด 4.0GHz และอีกสามโมเดลที่เหลือจะเป็นตระกูล Core i5 ที่ประกอบด้วย Core i5-6600 ซึ่งจะทำงานที่ความเร็ว 3.3GHz และบู๊ตได้สูงสุด 3.9GHz ถัดมาก็จะเป็น Core i5-6500 จะทำงานที่ความเร็ว 3.2GHz บู๊ตได้สูงสุด 3.6GHz สุดท้ายกับ Core i5-6400 ที่จะมีความเร็ว 2.7GHz และบู๊ตได้สูงสุด 3.3GHz ทั้งนี้สำหรับ Core i7 ก็จะยังมาพร้อมกับ HyperThreading ส่วน Core i5 ก็มีสี่คอร์ไม่มี HT
35W TDP – Intel Skylake-S Series Processors
สำหรับในโมเดลที่มี TDP สูงสุด 35W ตรงนี้เราก็จะรู้จักกันในนาม Low-power Series หรือที่มันจะมีรหัส ” T ” ตามท้าย หลักแล้วก็มุ่งเน้นไปในเรื่องของการประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพในแบบสูงสุด ซึ่งจะมีออกมาให้เลือกใช้งานทั้งหมด 4 โมเดลคือ Core i7-6700T ซึ่งก็ยังมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับ Core i7-6700K เพียงแต่จะมีความเร็วในการทำงานที่ต่ำกว่าค่อนข้างมากคือ ทำงานที่ความเร็วเพียง 2.8GHz และบู๊ตได้สูงสุด 3.6GHz ส่วนในอีกสามโมเดลนั้นก็จะเป็น Core i5 เหมือนกับกับในซีรีย์ 65W คือ core i5 6600T, 6500T และ 6400T โดยความเร็วในการทำงานก็จะลดหลั่นลงไป ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จากตารางเลยนะครับ
Intel Skylake-S Desktop Processors Lineup | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Model | Process | Cores | Core Clock | Boost Clock | Cache | Memory Support | TDP | Socket | Unlocked Design |
Core i7-6700K | 14nm | 4/8 | 4.0 GHz | 4.2 GHz | 8 MB | DDR4 2133 MHz | 95W | LGA 1151 | Yes |
Core i5-6600K | 14nm | 4/4 | 3.5 GHz | 3.9 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 95W | LGA 1151 | Yes |
Core i7-6700 | 14nm | 4/8 | 3.4 GHz | 4.0 GHz | 8 MB | DDR4 2133 MHz | 65W | LGA 1151 | No |
Core i5-6600 | 14nm | 4/4 | 3.3 GHz | 3.9 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 65W | LGA 1151 | No |
Core i5-6500 | 14nm | 4/4 | 3.2 GHz | 3.6 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 65W | LGA 1151 | No |
Core i5-6400 | 14nm | 4/4 | 2.7 GHz | 3.3 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 65W | LGA 1151 | No |
Core i7-6700T | 14nm | 4/8 | 2.8 GHz | 3.6 GHz | 8 MB | DDR4 2133 MHz | 35W | LGA 1151 | No |
Core i5-6600T | 14nm | 4/4 | 2.7 GHz | 3.5 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 35W | LGA 1151 | No |
Core i5-6500T | 14nm | 4/4 | 2.5 GHz | 3.1 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 35W | LGA 1151 | No |
Core i5-6400T | 14nm | 4/4 | 2.2 GHz | 2.8 GHz | 6 MB | DDR4 2133 MHz | 35W | LGA 1151 | No |
Intel Skylake-H Series Processors
สำหรับ Intel Skylake-H นั้นจะเป็นซีพียูในตระกูล Mobile ที่เน้นทางด้านประสิทธิภาพสูง อาทิเช่น โน๊ตบุ็คสำหรับเกมเมอร์ หรือ Workstation ซึ่งจะมีให้เลือกใช้งานทั้งในแบบ Quad core และ Dual core โดยซีพียูในตระกูล H ดังกล่าวนี้ก็จะยังมีการแบ่งย่อยออกเป็นสามระดับคือ HQ/HK และ H รวมถึง Xeon mobility อีกด้วย สำหรับโมเดลซีพียูที่คาดว่าจะมีออกมาให้ได้เลือกใช้งานกันก็จะประกอบไปด้วย
- Core i7-6920HQ, Core i7-6820HQ, Core i7-6280HK, Core i7-6700HQ, Core i5-6300HQ, Core i5-6440HQ และ Core i3-6100H
- Xeon E3-1535M v5 and Xeon E3-1505M V5
ซีพียูในตระกูล Xeon mobile นั้นถือได้ว่าไม่มีการเคลื่อนไหวมานานพอสมควรแล้ว และคาดกันว่าเราน่าจะได้เห็นตัวจริงในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
Intel Skylake-U Series Processors
Intel Skylake-U Series นั้นจะถูกวางตำแหน่งให้มาแทนที่ Broadwell-U Series ที่มีอยู่ในตลาดในเวลานี้อย่าง Core i7-5500U เบื้องต้นก็จะปล่อยออกมาสามโมเดลก่อนคือ Core i7-6500U, Core i5-6200U และ Core i3-6100U ในช่วงเดือนกันยายนนี้ และต่อมาก็จะมีอีกสองโมเดลตามมาคือ Core i7-6600U และ Core i5-6300U ในช่วงต้นปีหน้า (มกราคม 2559) ด้านข้อมูลทางเทคนิคเท่าที่รู้ก็จะรู้เพียงว่าซีพียูทั้งหมดจะเป็นซีพียูในแบบ Dual core ส่วนในเรื่องอื่นๆเช่น ความเร็วการทำงาน อัราการใช้พลังงานสูงสุด หรือชิบกราฟิกภายในจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่สามารถบอกอะไรได้ในเวลานี้
Intel Skylake-Y Series Processors
ตระกูลสุดท้ายกับ Skylake-Y Series ที่ถือว่าเป็นซีพียูในรหัส Core M หรือหากในอดีตก็ที่รู้จักกันในนาม Pentium M ซึ่งเจ้า Core M หรือ Y-Series นี้จะเป็นซีพียูในแบบ Dual Core ที่มีอัตราการใช้พลังงานต่ำมาก ซึ่งมันก็จะเข้ามาแทนที่ Broadwell Core M ที่เรารู้กันว่ามีอัตรา TDP สูงสุดเพียง 4.5W ทว่าในความเป็น Skylake นั้นชัดเจนว่าหากอัตราการใช้พลังงานไม่ได้ลดลง แต่ประสิทธิภาพต่อวัตต์นั้นจะต้องโดดเด่นขึ้นอย่างแน่นอน โดยซีพียูในตระกูล Y-Series นั้นเราก็จะพบเห็นได้บน IPC (Industrial PC – คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม) หรือบนแท็ปเล็ตพีซีต่างๆ ที่ไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพที่สูงมากนัก สำหรับช่วงเวลาของการเปิดตัวนั้นก็จะเริ่มพบเห็นได้นับจาก กันยายน 2558 ไปจนถึง มกราคมของปีหน้า โดยเราจะพบเห็นสามโมเดลแรกในปีนี้คือ Core M-6Y75, Core M-6Y54 และ Core M-6Y30 ส่วนในต้นปีหน้าก็จะตามมาอีกสองโมเดลคือ Core M-6Y85 และ Core M-6Y57
ทั้งหมดทั้งปวงที่ได้พูดถึงไปตรงนี้ ก็เป็นเรื่องราวของการทำความรู้จักกับซีพียูในตระกูล Skylake ในแบบเบื้องต้น ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดอาจจะยังไม่ได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์เต็ม แต่ก็มีความน่าเชื่อถือในระดับเกินกว่า 90% ทั้งนี้ในความชัดเจนจริงๆนั้นเราก็คงต้องรอกันจนกว่าทางอินเทลจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่จากข้อมูลเบื้องต้นที่ผมนำมาพูดคุยกันในวันนี้ ผมคิดว่ามันก็น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับพวกเราได้ไม่น้อย อย่างน้อยๆก็น่าจะช่วยให้การวางแผนในการจับจ่ายเป็นไปในทางที่เหมาะสมมากขึ้น สุดท้ายกับในเรื่องของประสิทธิภาพหรือความแรงนั้น คงยังบอกอะไรไม่ได้เช่นกันแต่อีกไม่นานเกินรอเราคงจะได้รู้กันแล้วหากไม่มีสิ่งใดผิดพลาดอีกไม่เกินสองสัปดาห์จากนี้ไป เราคงได้คำตอบที่เราต่างเฝ้ารอกัน